เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City  คืออะไร ??

บางคนอาจจะคุ้นหู และได้ยินคำนี้บ่อยๆ แต่อาจจะยังไม่ทราบถึง จุดประสงค์แท้จริงของเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City  เราจะพาไปรู้จัก ว่าเมืองอัจฉริยะ แท้ที่จริงแล้ว คืออะไร

เมืองอัจฉริยะ คือ การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิตัล เพื่อเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร  เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Smart City เป็นโครงการที่หลายๆ เมืองทั่วโลก พยายามพัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงานหรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะท าให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนในฝัน เกิดขึ้นได้จริง ทั้งยังทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย

แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นรากฐานในการเชื่อมโยงอุปกรณ์หรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวเข้ากับโครงข่ายการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการวางผังเมืองที่ชาญฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย

 การบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City ในประเทศไทย เป็นอย่างไร

การบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด  เพื่อสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพ อากาศที่ดีเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect) ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบด้วยกัน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ

  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ซึ่งมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เน้น 5  เรื่องสำคัญ ได้แก่

1.การพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้าหมายในการเลือกเมืองที่มีศักยภาพ ที่จะใช้ส าหรับการด าเนินงานน าร่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

  1. การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ

  1. สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ มีเป้าหมายให้มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการพื้นที่ จัดเตรียมองค์กร ระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการให้บริการสาธารณะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  2. ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีเป้าหมายในการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สามารถน าไปปรับใช้ส าหรับเมืองอัจฉริยะในอนาคต
  3. ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเข้าถึงการเชื่อมโยงและการใช้งานข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผน ตลอดจนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ มีอะไรบ้าง เราไปดูกัน

การที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ ความเป็นสมาร์ท 7 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ
  2. Smart Community ชุมชนอัจฉริยะ
  3. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ
  4. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ
  5. Smart Governance การปกครองอัจฉริยะ
  6. Smart Building อาคารอัจฉริยะ
  7. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ

ในส่วนประเทศไทย ก็ถือว่ามีแนวทางในการขับเคลื่อน ในการสร้างเมืองสมาร์ทซิตี้ ระดับหนึ่ง   คราวนี้ เราจะพาไปดูกันว่า ประเทศชั้นนำทั่วโลก ที่ต่างทรานฟอร์มเมือง สมาร์ทซิตี้  โดยการใช้ประโยชน์ จาก TECHNOLOGY ที่สำเร็จกันแล้ว มีประเทศไหนบ้าง จะลองยกเมืองสำคัญๆมาให้ชม เราลองไปดูกันเลย..

SINGAPORE

(ขอบคุณภาพ sky scanner)

 

สิงคโปร์ พัฒนาในทุกมิติ ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้น!  แต่รวมถึงสร้างความสมาร์ท ในส่วนสิ่งแวดล้อม การศึกษา การสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ ทรัพยากรบุคคล การจัดวินัยจราจร วินัยทางสังคม ฯลฯ ไปพร้อมกัน

Barcelona –SPAIN

(ขอบคุณภาพ MTHAI )

Barcelona ในประเทศสเปนนี้ ตั้งเป้าให้ตัวเองเป็น Digital City ด้วยการใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีมารองรับ  แบ่งออกเป็น 3 ด้าน  คือ

  • Digital transformation เทคโนโลยีและข้อมูล ในการบริการประชาชน สร้างความโปร่งใสของรัฐบาล
  • Digital Innovation สนับสนุนการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ
  • Digital Empowerment เทคโนโลยีในการสร้างสังคม และชุมชนที่ดี

 

Amsterdam – Netherlands

(ขอบคุณภาพ wikipedia)

ไฟถนนในเมืองอัมเสตอร์ดัมที่สามารถปรับหรี่ลงได้ตามจำนวนของผู้คนสัญจร

เห็นกระแสความสำคัญ ของการรักษ์โลกแล้ว  ทุกภาคส่วนทั้งส่วนภาครัฐ และเอกชน คงต้องหันมาร่วมแรง ร่วมใจ รวมทั้งผนึกกำลังในการสร้างเมือง สมาร์ทซิตี้  เพื่อให้เมืองที่เราอยู่อาศัยนี้ รักษ์โลก รักษ์ประชากร เพื่อให้สังคมการอยู่อาศัย มีประสิทธิภาพ คืนกลับสู่คุณภาพชีวิต สุขภาพจิตที่ดี ของผู้อยู่อาศัยมากที่สุด

Ref :ที่มาข้อมูล จาก  prd.go.th